วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความหมายของเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความหมายของเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



1.ความหมาย ของ E-mail ย่อมาจาก electronic mail (แปลว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอม พิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (e-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ซิ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก



ชนิดของการรับส่ง E-mail



1. รับส่งโดยใช้โปรแกรม E-mail โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express, Eudora

2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น www.sanook.com, http://www.yahoo.com/

3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น



วิธีการใช้งานทั่วไป

1. TO - หมายถึง ชื่อ E-mail สำหรับผู้รับ

2. FROM - หมายถึง ชื่อ E-mail สำหรับผู้ส่ง 3. SUBJECT - หมายถึง หัวข้อเนื้อหาของจดหมาย

4. CC - หมายถึงสำเนา E-mail ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง

5. BCC - หมายถึงสำเนา E-mail ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แต่ผู้รับ (TO) จะไม่ทราบว่าเราสำเนาให้ใคร บ้าง

6. ATTACHMENT - ส่ง file ข้อมูลแนบไปพร้อมกับ E-mail



2.ความหมายของ e-bankingE-Banking คือ Electronics Banking คำว่า Banking คือ การทำธุระกรรม ต่าง ๆ ที่ต้องทำที่ธนาคาร เช่นโอนเงิน ตรวจสอบยอด เป็นต้น ส่วน E-Banking หรือ ธนาคารอิเล็คทรอนิกส์ คือ การให้บริการทำธุระกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านอุปกรณ์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ อินเตอร์เนต ในปัจจุบันธนาคารต่างๆมีบริการให้ลูกค้าของธนาคารเลือกใช้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้เอทีเอ็ม, บัตรเครดิต,อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, ธนาคารผ่านอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่ เอ็มแบงกิ้ง ธนาคารในมือถือ ซึ่งจะเลือกใช้แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ความสะดวกและความพึงพอใจในแต่ละบุคคล





3.ความหมายของ E-Exhibitionคือ การจัดทำนิทรรศการบน Web Site หรือ ห้องนิทรรศการ Online ใช้ในการนำเสนอองค์ความรู้ ห้องแสดงผลงาน หรือนำเสนอสินค้า-นิทรรศการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Exhibition) หมายถึง การจำลอง หรือจัดแสดง เนื้อหาสาระหรือความรู้ในรูปแบบ นิทรรศการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำว่าต้องการจะนำเสนอเนื้อหาสาระใด ในการนำเสนอ นั้น มีวิธีการ คือ จัดเก็บองค์ประกอบของเนื้อหาเป็น ข้อความ ภาพ หรือเสียง-นิทรรศการอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อการเรียนรู้ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นสื่อผสม ที่ใช้วิธีการนำเอาเนื้อหาสาระหรือความรู้มานำเสนอไว้ให้ผู้ชมได้รับชมเพื่อสร้างทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน ซึ่งปัจจุบันนิทรรศการอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือการสื่อ สารที่ได้รับความสนใจ และมีบทบาทมากขึ้นทุกขณะ ทั้งในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ ธุรกิจ สังคม การเมือง อุตสาหกรรม การแพทย์ สาธารณสุข และอื่น ๆ



-นิทรรศการอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการนำเสนอองค์ความรู้ที่ใช้กุศโลบายอันแยบยล ในการกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความสนใจใคร่รู้ในเรื่องราวสาระ และแนวความคิด ทั้งยังเป็นเป็นวิธีที่สามารถสร้างโอกาสของการเห็นการรับชมได้ง่าย เป็นอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และการเรียนรู้บางอย่างที่เกินปกติวิสัยที่จะมีโอกาสเช่นนั้น

-เสน่ห์ของนิทรรศการอิเล็กทรอนิกส์อยู่ที่ความพิเศษ ถ่ายทอดความเป็นไปต่าง ๆ ของสิ่งที่ต้องการแสดง ให้ผู้ชมได้เห็น ได้เข้าใจอย่างแจ่มชัด รวดเร็ว และเพลิดเพลินด้วย ทั้งยังเป็นที่รวมของความก้าวหน้า อันจะเป็นแนว ปฏิบัติในการเผชิญกับปัญหา ต่าง ๆ พร้อมทั้งเห็นทางแก้ไขด้วย







4.ความหมายของ E-Advertisingการโฆษณาผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและนิยมใช้ที่สุด



5.ความหมายของ e-new ข่าวออนไลน์ซึ่งท่านสามารถอ่านข่าวประจำวันจากหนังสือพิมพ์มากกว่า 20 ฉบับ รวมทั้งฐานข้อมูลข่าวออนไลน์ที่สำนักหอสมุดได้สิทธิ์ในการใช้





6.ความหมายของ Electronic PaymentElectronic Payment คือ “ระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิตออนไลน์” (Online Payment Gateway) ที่อำนวยความสะดวก ให้ทุกท่านสามารถทำการค้า ผ่านระบบออนไลน์ E-Commerce ได้อย่างสะดวกปลอดภัย โดยท่านสามารถรับเงินจากบัตรเครดิตของลูกค้าท่านได้โดยตรงผ่านระบบของเว็บไซต์ที่ให้บริการ ซึ่งท่านสามารถที่จะจัดการการชำระเงินจากลูกค้าได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการตัดวงเงินหรือการยกเลิกวงเงิน





7.ความหมายของ E-Learning E-Learning การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning การศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่





8.ความหมายของ e-sourcing การขอให้ผู้ค้าเสนอราคาและเงื่อนไข


9. ความหมายของ ASCII ASCII ย่อมาจาก American standard code for Information Interchange หมายถึงรหัสมาตรฐานที่ใช้แทนข้อมูล ซึ่งถูกคิดค้นที่อเมริกาและกำหนดเป็นมาตรฐานสากล นั่นคือ ตำแหน่งที่ 0-31 แทนรหัสควบคุมต่างๆ ตำแหน่งที่ 32-127 แทนสัญลักษณ์ ตัวเลขและอักขระภาษาอังกฤษ ตำแหน่งที่ 128-255 แทนอักขระที่เรากำหนดขึ้นเองเป็นมาตรฐานที่ใช้ในแต่ละประเทศ เพื่อการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ และทำให้เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ สามารถรับส่งข้อมูลในความหมายเดียวกันได้ รหัสแอสกีมีขนาดเท่ากับ 8 บิต แทนข้อมูลได้ทั้งหมด เท่ากับ 256 ค่า

10.ความหมายของ BIOSเป็นคำย่อของ basic input/output system เป็นระบบการควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่อง อุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำ แผ่นดิสก์ และมอนิเตอร์ เป็นต้น

11.ความหมายของ RamRAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรมคือหน่วยความจำที่มีการเข้าถึงได้ โดยไม่ต้องใส่ลำดับ (Sequential Access) ต้องการข้อมูล ที่ตำแหน่งใดก็ได้ โดยส่ง Address (ตัวเลขระบุตำแหน่ง) ให้กับ RAM Memory Chip ที่ใช้กันในเครื่องพีซีแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1.SRAM(Static RAM) 2.DRAM(Dynamic RAM)

12.ความหมายของ Romย่อมาจาก read only memory (แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอมก็จะไม่ศูนย์หายไปไหน ดู RAM เปรียบเทียบ

13.ความหมายของ multitasking systemหมายถึง สมรรถภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานสองโปรแกรมขึ้นไปได้เวลาเดียวกัน เช่น ในระหว่างปฏิบัติการของโปรแกรมการพิมพ์ ก็สามารถที่จะปฏิบัติการในโปรแกรมอื่นได้อีก โดยไม่ต้องรอให้การพิมพ์แล้วเสร็จเสียก่อน

14.ความหมายของ Inkjetเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่งที่ใช้วิธีฉีดหมึกลงบนแผ่นกระดาษแทนการกระแทกตัวพิมพ์ลงบนผ้าหมึกแบบเครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ทำงานเงียบกว่า ผลงานที่ออกมาก็มีคุณภาพดีกว่า (แต่ยังไม่ดีเท่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์)

15.ความหมายของ Dot Metrixเป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก มีราคาถูก คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้งานได้ทั่วไป และที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดเนื่องรูปลักษณะตัวอักษรที่พิมพ์ออกมาจะเป็นจุดเล็ก ๆ อยู่ในกรอบ เช่น ตัวอักษรที่มีความละเอียดในแนวทางสูงของตัวอักษร 24 จุด และความกว้างแต่ละตัวอักษร 12 จุด ขนาดแมทริกซ์ของตัวอักษรจะมีขนาด 24X12 จุด

16.ความหมายของ Laser Printerเป็นเครื่องพิมพ์ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์ที่พบได้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไป โดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์ (diote laser) จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฏิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษรตามต้องการ เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างแม่นยำ ทำให้ความละเอียดของจุดภาพที่ปรากฏบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูงทำให้ได้ภาพและตัวหนังสือที่คมชัดสวยงาม การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะไม่ส่งเสียงดังเหมือนเครื่องพิมพ์

17.ความหมายของ Search Engineความหมายของ Search Engine หรือ SE หมายถึง เครื่องมือบนอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่งที่มีความสามารถลึกล้ำ จนกลายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าทึงอย่างหนึ่งพอๆ กับการสร้างอินเทอร์เน็ตขึ้นมาให้เราได้ใช้ เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้เราค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้จากทุกที่ตามที่เราต้องการ เพียงแค่เรากรอกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการค้นหา (Keyword) ระบบการทำงานของ SE ก็จะทำการจัดเรียงรายงานข้อมูลเว็บไซต์หรือเว็บเพจต่างๆ ที่มีอยู่ในสารบบออกมาให้เราเลือกสรรอย่างมากมายก่ายกองตัวอย่างของ Search Engine ชั้นนำ เช่น google.com, yahoo.com และ msn.com ส่วน Search Engine อื่นๆ เช่น aol.com, ask.com, altavista.com, hotbot.com, sanook.com ฯลฯ

18.ความหมายของ Web Browser เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการอ่านสืบค้นข้อมูลในไฟล์หรือใน World Wide Web










วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

ระบบปฎิบัติการ

ระบบปฎิบัติการ

1.ระบบปฎิบัติการหมายถึงอะไร
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่ เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆความหมายของระบบปฏิบัติการโปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆการทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท

2..จงยกตัวอย่างระบบปฎิบัติการอื่นๆ นอกเหนือจาก Windom XP มาอย่างน้อย 1ระบบปฎิบัติการ พร้อมอธิบายอย่างละเอียด

ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

3. ระบบปฏิบัติการจัดการบริหารจัดการเครือข่าย

1.Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS 2. Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบส เซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์3. Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมากสำหรับระบบเครือข่ายในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี คศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบ Unix จะคิดค้นมานานแล้ว แต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะระบบ พื้นฐานของอินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Mutiuser) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Mutitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้

4. .ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยคนไทย

ลีนุกซ์ ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน5.ข้อสอบเกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ

5. ข้อสอบเกี่ยวกับ ระบบปฏิบัติการ

5.1 .ระบบปฏิบัติการหมายถึงอะไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป

5.2 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการคืออะไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ

5.3 ระบบการจัดการมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ มีประโยชน์มากๆ เพราะว่าจะเป็นโปรแกรมที่สร้างสิ่งต่างๆ ให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้
ประโยชน์ได้หลายอย่าง

5.4 ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)เป็นระบบปฎิบัติการที่พัฒนาขึ้นเพื่ออะไร

ตอบ ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์

5.5 จงอธิบายเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Unix

ตอบ Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้(Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking system)